หน้าแรก
ประวัติโรงเรียน
ข่าวประชาสัมพันธ์
ภาพกิจกรรม
ติดต่อเรา
เมนู
ข้อมูลทั่วไป
ประวัติโรงเรียน
วิสัยทัศน์ / ปรัชญา
พันธกิจ / เป้าหมาย
บุคลากร
ข่าวประชาสัมพันธ์
สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน
ภาพกิจกรรม
รับสมัครนักเรียน
ประกาศผลสอบ
แผนที่โรงเรียน
ติดต่อเรา
พืชที่อยู่ในกระบวนการศึกษาวิจัยและสืบค้นสรรพคุณ
ต้นกะเม็ง
พืชศึกษา ต้นกะเม็ง
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Eclipta prostrata(L.). L. วงศ์ COMPOSITAE ซึ่งเป็นพืชในวงศ์เดียวกับ ทานตะวัน และดาวเรือง ชื่อไทย กะเม็ง หรือ กะเม็งตัวเมีย มีชื่อเรียกแตกต่างกันหลายชื่นขึ้นกับแต่ละท้องถิ่น ภาคเหนือ เรียกว่า ฮ่อมเกี้ยว ,หญ้าสับ จีนเรียกบั้งกีเช้า ภาคกลาง เรียก กะเม็งตัวเมีย
ลักษณะทั่วไป
ต้น
: เป็นพรรณไม้ล้มลุก ที่มีลำต้นตั้งตรง มีความสูงประมาณ 4-32 นิ้ว ลักษณะลำต้นมีขนหรือบางต้นก็ค่อนข้างเกลี้ยง ลำต้นมีกิ่งก้านแตก ที่โคนต้น
ใบ
: ใบมีลักษณะเป็นรูปรี หรือรูปหอก ปลายใบแหลมเรียว โคนใบสอบแคบ ริมขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย ผิวเนื้อใบเกลี้ยง ขนาดของใบกว้างประมาณ 0.5-2.5 ซม. ยาวประมาณ3-10 ซม. ก้านใบไม่มี ถ้าเกิดในที่ชุ่มชื้น มีน้ำมากใบก็ใหญ่ เกิดในที่แห้งแล้ง ใบจะเล็ก
ดอก
: ดอกออกเป็นกระจุก ลักษณะของดอกมีกลีบดอกสีขาว ดอกวงในโคนดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปท่อยาวประมาณ 2 มม. ส่วนปลายจะหยักเป็น 4 แฉก ดอกในวงนอกเป็นรูปรางน้ำ ยาวประมาณ 2.5 มม. ปลายดอกหยักเป็น 2 แฉก ก้านดอกเรียวยาว ยาวประมาณ 2-4.5 ซม.
ผล
: ผลมีลักษณะเป็นรูปลูกข่าง เมื่อแก่จัดจะมีสีดำ เมื่อขยี้ดูจะมีน้ำสีดำออกมา ปลายมีระยางค์เป็นเกล็ดยาวประมาณ 2.5 มม. ขนาดของผลกว้างประมาณ 1.5 มม. ยาวประมาณ3-3.5 มม.
เมล็ดกะเม็ง สีน้ำตาลเข้มเกือบดำตามรูป แสดงว่าแก่ พอที่จะนำไปเพาะได้แล้ว วิธีทดสอบลองเอามือบีบที่ ฝักเบา ๆ ถ้าเมล็ดแก่จะร่วงออกได้ง่าย
การขยายพันธุ์
กะเม็งเป็นพรรณไม้ที่ชอบขึ้นในที่โล่งแจ้ง ต้องการน้ำและความชื้น ค่อนข้างมาก มีการขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด
วงจรชีวิตของกะเม็งมีช่วงเวลาในการงอก 10 วันช่วงการเจริญเติบโต ไม่อาศัยเพศ 12 วัน ช่วงระยะออกดอกจนกระทั่งดอกบานใช้เวลา 14วันและช่วงการติดเมล็ด จนกระทั่งต้นตาย 68 วันรวมระยะเวลาตลอดวงชีวิตโดยเฉลี่ย 114 วันกะเม็งผลิตเมล็ดโดยเฉลี่ย 15,312 เมล็ด
สรรพคุณและการนำมาใช้รักษาโรคต่าง ๆ
กะเม็งมีรสเปรี้ยว ชุ่มเย็น ส่วนวิธีและปริมาณที่ใช้ ของกะเม็งนั้น จะใช้ทั้งต้นแห้ง10-30 กรัม ต้มเอาน้ำกิน
หรือจะนำมาบดเป็นผง ทำเป็นยาเม็ดลูกกลอน หรือกินเป็นผงก็ได้ (ส่วนผมชอบบดเป็นผงชงกับน้ำร้อนแล้ว
ผสมกับน้ำผึ้งอีกทีหนึ่ง)
1. รักษาแผล
- หมอยาทุกภาคต่างรู้ดีว่ากะเม็งเป็นสมุนไพร ทำแผลช่วยห้ามเลือดและป้องกันการติดเชื้อ
- กะเม็งยังใช้ตำพอกแก้อักเสบเมื่อถูกแมลง สัตว์กัดต่อย
- ใช้ต้มอมบ้วนปากรักษาอาการปากและเหงือกเป็นแผล
- แก้ปวดฟัน โดยใช้ต้นสดผิงไฟให้แห้งแล้ว บดเป็นผงทาที่เหงือกแก้ปวดฟันก็ได้และรักษาอาการปากเปื่อย
- ปากเจ็บเนื่องจากเชื้อราในเด็ก โดยใช้น้ำคั้นจากใบ ๒ หยดผสมน้ำผึ้ง ๘ หยด ทาบ่อยๆ
- รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก อาการฟกช้ำ อาการแพ้ได้อย่างดี โดยบดตำเอามาพอกที่บาดแผล ลดอาการอักเสบ ปวดแสบปวดร้อน อาการอักเสบจะดีขึ้น ให้พอกไปเรื่อยๆ และคอยเปลี่ยนยาบ่อย ๆ
2. แก้โรคผิวหนังผื่นคันจากการทำนา
กะเม็งยังช่วยรักษาอาการน้ำกัดเท้า ชาวนาสมัยก่อนจะนำใบกะเม็งขยี้ทาเท้าทิ้งไว้ให้แห้งก่อนลงนา การศึกษาวิจัยสมัยใหม่พบว่ากะเม็งมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อทั้งราและแบคทีเรีย และเป็นสมุนไพรที่ขึ้นได้ดีในหน้าน้ำ เป็นเรื่องน่าแปลกเพราะดูเหมือนว่า ธรรมชาติจะได้ประทานสมุนไพรชนิดนี้มาให้กับชาวนาใช้รักษาโรคน้ำกัดเท้า ในหน้าลงนาได้พอดิบพอดี แต่ถ้ามือและเท้าเปื่อย จากการทำนาแล้ว ก็สามารถใช้น้ำคั้นจากใบทารักษาได้ โดยทาวันละ 2 ครั้ง จนกว่าจะหาย
3. แก้ผมหงอกก่อนวัย
ใช้น้ำคั้นจากต้นเคี่ยวกับน้ำมันงา หรือน้ำมันมะพร้าวทา ศีรษะจะทำให้ผมดกดำ และแก้ผมหงอกก่อนวัย
4. แก้อักเสบ บวมน้ำ
ใช้ต้นกะเม็งสดๆ ๓-๔ ต้น ล้างให้สะอาดนำไปต้มให้เดือดประมาณ ๑๐ นาที แล้วดื่มน้ำโดยผสมน้ำตาลทรายลงไปผสมพอมีรสหวาน ดื่มกินไม่เกิน ๒ วัน ช่วยแก้อักเสบ บวมช้ำ
5.โรคไต
ถ้าเป็นไม่นาน ให้นำต้น กะเม็ง ทั้งสองชนิด คือ กะเม็งตัวผู้ กับ กะเม็งตัวเมีย โดยให้เอาทั้งต้นแบบชนิดแห้งชนิดใดชนิดหนึ่ง จำนวน 1 กำมือ ต้มกับน้ำจนเดือด ดื่มครั้งละ 1 แก้ว เช้า กลางวัน เย็น หรือต้มดื่มน้ำทั้งวันก็ได้ จะช่วยล้างพิษหรือสารตกค้างจากไตจนหมด ทำให้ไตสมบูรณ์ขึ้น ร่างกายก็แข็งแรงตามไปด้วย ไม่มีอาการปวดเมื่อย ผิวกายไม่ตกกระ และยังช่วยชะลอความแก่ เพราะไตดีขึ้นนั่นเอง ผิวพรรณสดใสอีกด้วย
โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 28 จังหวัดยโสธร
© copyright , 2013. Engine by
MakeReadyWeb.com
All rights reserved.